นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

1. หลักการ

บริษัท มูฟฟาสท์ จำกัด (“บริษัท”) มีความมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจของบริษัทอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม ประกอบกับ มีความมุ่งเน้นในการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมต่อการดำเนินธุรกิจตามหลักจรรยาบรรณของบริษัท และตามหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) และเพื่อให้การตัดสินใจรวมถึงการดำเนินทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง และรอบคอบ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของธรรมาภิบาลของบริษัท เช่นนี้ บริษัทได้กำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นขึ้น เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทและบริษัทย่อย (ถ้ามี) ได้ยึดถือ และปฏิบัติตามนโยบายนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น และเจตนารมณ์อันแน่วแน่ว่าบริษัทไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งความยั่งยืนต่อไป

2. คำนิยาม

การทุจริตคอร์รัปชั่นหมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการให้ หรือรับสินบน การนำเสนอ หรือการให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือการเรียกร้อง ทั้งที่เป็นทรัพย์สิน เงิน สิ่งของ สิทธิ หรือผลประโยชน์อื่นใด ที่เป็นการขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบาย ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจกับบริษัท บริษัทในกลุ่ม รวมถึงบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไม่ว่าในประเทศ หรือต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันมิควรได้ ทั้งต่อองค์กร ตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

3. วัตถุประสงค์

กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นใดๆทั้งสิ้นและพึงปฏิบัติต่อไปนี้

3.1 ส่งเสริมบทบาท และการมีส่วนร่วมของกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพื่อป้องกัน และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) ในทุกกรณี

3.2 สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการดําเนินธุรกิจร่วมกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

3.3 มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่โปร่งใสปราศจากการทุจริตคอร์รัปชั่น

3.4 สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสีย (ตามความหมายในข้อ 4 (ขอบเขต)) ร่วมมือในการกระทำอันหนึ่งอันใดที่จะเป็นประโยชน์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

3.5 ส่งเสริมค่านิยมเกี่ยวกับ คุณธรรม จริยธรรม และความดี

4. ขอบเขต

4.1 บริษัทได้กําหนดขอบเขตของผู้มีส่วนได้เสียที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายต่อต้านกาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็น 2 (สอง) กลุ่มดังนี้

4.1.1 ภายในได้แก่กรรมการคณะกรรมการชุดย่อยผู้บริหารพนักงานและลูกจ้างของบริษัท

4.1.2 ภายนอก ได้แก่ ลูกค้า หรือผู้ขายสินค้าหรือบริการ (Supplier) คู่ค้าคู่แข่งเจ้าหนี้ลูกหนี้หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนอื่นๆ

5. หน้าที่ความรับผิดชอบ

5.1 คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการกําหนดนโยบาย และกํากับดูแลให้มีระบบ
ที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนัก และให้ความสําคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร

5.2 คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่สอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชีระบบควบคุมภายในระบบตรวจสอบภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลมีความรัดกุมเหมาะสมทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

5.3 คณะกรรมการบริหารการลงทุนและความเสี่ยง มีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดขององค์กร ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

5.4 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการกําหนดให้มีระบบ ส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อสื่อสารไปยังพนักงาน ลูกจ้าง และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ และ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพธุรกิจระเบียบข้อบังคับและข้อกําหนดของกฎหมายต่างๆเป็นต้น

5.5 คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท มีหน้าที่ และรับผิดชอบในการปฏิบัติและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด รวมถึงการแจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูล เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จ

5.6 บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามนโยบายแนวปฏิบัติอํานาจดําเนินการระเบียบปฏิบัติและกฎหมายข้อกําหนดของหน่วยงานกํากับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุมที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

5.7 เลขานุการบริษัท มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ให้ความร่วมมือ และให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น กำกับการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รายงานผลการปฏิบัติงาน และให้การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อให้ทุกหน่วยงานปฎิบัติตามกฎหมาย

6. แนวปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

6.1 กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะปฏิบัติตามมาตรการต่อต้าน
การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัดและไม่กระทำหรือสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกกรณี

6.2 กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไม่พึงละเลย หรือเพิกเฉย
เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) โดยต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงาน/บุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบทราบ รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษาผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงาน/บุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ หรือผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร

6.3 กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ซื่อสัตย์ และยึดมั่นในความเป็นธรรม

6.4 บริษัทจัดให้มีการสื่อสาร และฝึกอบรมแก่พนักงาน และลูกจ้างภายในองค์กร เพื่อส่งเสริมให้พนักงานและลูกจ้างมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ และพร้อมจะนำหลักการ และจรรยาบรรณตามนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินงานทั้งองค์กร

6.5 บริษัทจะให้ความเป็นธรรม และปกป้อง ไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงาน
และลูกจ้างที่ปฏิเสธที่จะกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่น ถึงแม้ว่าการปฏิเสธนั้นจะทำให้บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

6.6 บริษัทจะคุ้มครองบุคคลที่ปฏิเสธที่จะกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นตามข้อ 6.5 หรือแจ้งเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) โดยใช้มาตรการคุ้มครองบุคคลที่ปฏิเสธที่จะกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายเกี่ยวกับการร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส (Whistleblower Policy)

6.7 บริษัทจัดให้มีกระบวนการบริหารงานบุคลากรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้าน
การคอร์รัปชั่น ตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และการเลื่อนตำแหน่ง

6.8 บริษัทจัดให้มีการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบการควบคุมภายในช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบ และช่วยค้นหาข้อบกพร่องจุดอ่อน รวมถึงให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบาย/มาตรการในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น

6.9 บริษัทจะให้ความร่วมมือกับภาครัฐ ในการกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เป็นคู่สัญญากับภาครัฐ เปิดเผยแบบแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...)

6.10 นโยบาย และแนวปฏิบัติของมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชั่นนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท หากผู้ใดละเลย ละเว้น และมีเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามนโยบาย และแนวปฏิบัติที่ดีของบริษัท จะถือว่ากระทำผิดวินัย และจะพิจารณาโทษตามระเบียบบริษัท และอาจได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดข้อกำหนดของกฎหมาย

6.11 บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน จะรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ และให้คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดเป็นวาระการประชุมประจำปี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

6.12 กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังเพื่อความชัดเจนในการดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ในเรื่องดังต่อไปนี้

6.12.1 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมือง

การช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง การให้การสนับสนุนนักการเมือง หรือพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม ทั้งที่เป็นตัวเงิน หรือมิใช่ตัวเงิน การสนับสนุนที่มิใช่ตัวเงินจะรวมถึงการให้ยืม หรือบริจาคอุปกรณ์ การให้บริการด้านเทคโนโลยีโดยไม่คิดค่าบริการ รวมทั้ง
การโฆษณาส่งเสริมการขาย หรือสนับสนุนพรรคการเมือง และ/หรือส่งเสริมให้พนักงานและลูกจ้างเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามของบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการค้า

ทั้งนี้บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือทางการเมืองดังนี้

  1. บริษัทและบริษัทย่อย (ถ้ามี) ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นกลางทางการเมือง โดยจะไม่ให้การสนับสนุน หรือกระทำการอันเป็นการฝักใฝ่ทางการเมือง หรือกับนักการเมือง หรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี)
  2. กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างมีสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องไม่อ้างความเป็นกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง หรือนำทรัพย์สิน อุปกรณ์ เครื่องมือใด ๆ ของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการใด ๆ ในทางการเมือง หากเข้าร่วมจะต้องพึงระมัดระวังไม่ให้การดำเนินการใด ทำให้เกิดความเข้าใจว่าบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไม่วางตัวเป็นกลางทางการเมือง
  3. บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) แจ้งให้ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างรับทราบว่า บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะไม่เข้าร่วม หรือให้ความช่วยเหลือในกิจกรรมทางการเมือง

6.12.2 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุน

การบริจาคเพื่อการกุศล ทั้งในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือในรูปแบบอื่น เช่น การให้ความรู้ หรือการสละเวลา เป็นต้น บริษัทสามารถกระทำได้ โดยอาจเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมตอบแทนสังคม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทนทางธุรกิจ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนอย่างเคร่งครัด

การบริจาคเพื่อการสาธารณประโยชน์ คือ การใช้จ่ายเงินเพื่อโครงการ กิจกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน สังคม กลุ่มประชาชน โดยบริษัทอาจไม่ได้รับผลตอบแทนที่มีตัวตน

เงินสนับสนุนเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางธุรกิจ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี)  อาจกระทำได้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ ตราสินค้า หรือชื่อเสียงของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ทั้งนี้อาจมีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นการจ่ายเงินสำหรับการบริการ หรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผล และติดตาม ดังนั้น จะต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนอย่างเคร่งครัด

การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนทำให้บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) เกิดความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินโดยไม่มีผลตอบแทนที่มีตัวตน และอาจจะใช้เป็นข้ออ้าง หรือเส้นทางสำหรับการทุจริตคอร์รัปชั่น และเพื่อไม่ให้การบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ดังนั้น บริษัท และบริษัทย่อย
(
ถ้ามี) จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ รวมทั้งข้อบังคับของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ทั้งนี้ บริษัทมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้

. กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ที่ประสงค์จะให้บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) เข้าร่วมบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน จะต้องทำแบบคำขออนุมัติการบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน โดยระบุชื่อผู้รับบริจาค และ/หรือผู้รับการสนับสนุน และวัตถุประสงค์ของการบริจาค หรือสนับสนุน พร้อมแนบเอกสารประกอบ เสนอขออนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี)

. ผู้ประสงค์จะให้บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) เข้าร่วมบริจาคเพื่อการกุศล หรือเงินสนับสนุน
มีหน้าที่ตรวจสอบองค์การกุศล มูลนิธิต่าง ๆ บริษัท ห้างร้านที่บริษัทจะเข้าร่วมในการบริจาค หรือเงินสนับสนุน ก่อนการนำเสนอขออนุมัติดังนี้

ต้องมั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล และเงินสนับสนุนจะไม่ถูกนำไปใช้เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงในการให้สินบน ตลอดจนต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส และเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับ

ต้องพิสูจน์ได้ว่ามีการจัดกิจกรรมตามโครงการเพื่อการกุศลดังกล่าวจริง และมีการดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้วัตถุประสงค์ของโครงการประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง หรือเพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

ต้องพิสูจน์ได้ว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นไปเพื่อการกุศล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับบุคคลใด หรือหน่วยงานใด ยกเว้น การประกาศเกียรติคุณตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป

. หากบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ตรวจพบ หรือได้รับแจ้งข้อมูลจากทางการว่า องค์กร มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน ที่บริษัทบริจาค หรือให้การสนับสนุน มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น บริษัทและบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะระงับการบริจาค หรือการสนับสนุนกิจกรรมในองค์กร หรือบริษัทนั้น ๆ ในทันทีที่รับทราบ

. บริษัทมีการติดตาม และสอบทานเพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคเพื่อการกุศล หรือการใช้เงินสนับสนุนไม่ได้กระทำเพื่อการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบภายใน

6.12.3 แนวทางปฏิบัติในการรับ และการให้ของขวัญ การบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

  1. แนวทางปฏิบัติในการรับของขวัญ การบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  • ห้ามรับ เรียกรับสินบนรูปแบบใด ๆ เพื่อตอบแทนการให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    โดยมิชอบ และห้ามมอบหมายให้ผู้อื่นรับสินบนแทนตนเอง
  • กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน จะต้องไม่เรียกร้อง หรือรับของขวัญ
    การบริการต้อนรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นจากลูกค้า คู่ค้า หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่ากรณีใด อันจะทำให้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความลำเอียง หรือลำบากใจ หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • การขอสนับสนุนในรูปเงิน หรือสิ่งของ หรืออันเนื่องมาจากการส่งเสริมการขาย ซึ่งไม่ใช่การรับสินบน และมิใช่เพื่อประโยชน์ของบุคคลใดโดยมิชอบ สามารถกระทำได้ในลักษณะองค์กรกับองค์กร โดยต้องได้รับการลงนามอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติ
  • ให้ผู้บริหาร ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการขึ้นไปเป็นผู้แทนองค์กรในการรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด และนำส่งต่อให้แก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภายใน 3 (สาม) วันทำการนับตั้งแต่วันที่ได้รับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดนั้น
  • เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทไม่อนุญาตให้พนักงาน หรือบุคคลที่บริษัทมิได้มอบหมายไปเป็นผู้แทนในการรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด โดยเด็ดขาด
  • กรณีที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และมีความจำเป็นต้องรับไว้ซึ่งสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาระดับผู้อำนวยการขึ้นไป และนำส่งสิ่งของนั้น ๆ ต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
    เพื่อดำเนินการต่อไปตามความเหมาะสม โดยมีการบันทึกรายการสิ่งของที่รับไว้ และการดำเนินการกับสิ่งของดังกล่าว
  1. แนวทางปฏิบัติในการให้ของขวัญ การบริการต้อนรับ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  • ห้ามให้ หรือมอบหมายให้ผู้อื่นให้สินบนในรูปแบบใด ๆ เพื่อตอบแทนการให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจโดยมิชอบ
  • การให้สิ่งของ ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรองในโอกาสเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมที่คนทั่วไปพึงปฏิบัติต่อกัน หรือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติที่ไม่สร้างความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือขัดกับข้อกำหนดตามกฎหมาย
    ซึ่งกำหนดราคา หรือมีตามสมควรแก่ผู้รับ โดยต้องขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามอำนาจอนุมัติก่อนดำเนินการ โดยให้ระบุผู้รับให้ชัดเจนในการขออนุมัติค่าใช้จ่ายดังกล่าว

6.13 ผู้ที่ถูกพิจารณา และตรวจสอบเป็นที่สุดแล้วว่าเป็นผู้กระทําการทุจริตคอร์รัปชั่น และ/หรือเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องในการกระทำการทุจริตคอรัปชั่นบุคคลเหล่านั้นจะต้องได้รับการลงโทษทางวินัยตามกฏของบริษัทที่กําหนดไว้และได้รับโทษตามกฎหมาย

7. การประเมินความเสี่ยง

7.1 ให้บริษัททำการประเมินความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัท ที่อาจมีขั้นตอน หรือกระบวนการที่มีความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่น โดยให้ทำการทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านคอร์รัปชั่นของบริษัท อย่างน้อยปีละ 1 (หนึ่ง) ครั้ง รวมทั้งทบทวนมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ใช้อยู่ให้มีความเหมาะสม ที่จะป้องกันความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

8. การควบคุมภายใน และการรายงาน

8.1 บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบของทางการที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงมีระบบการตรวจสอบภายในเพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า ระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่สามารถช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ได้

8.1.1 บริษัทกำหนดให้บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน จัดทำแผนงานการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 (หนึ่ง) ครั้ง โดยแผนการตรวจสอบจะผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ โดยจะมีการพิจารณาแผนงานตามความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย

8.1.2 บริษัทจะรักษาระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิผลเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ซึ่งครอบคลุมถึงการถ่วงดุล และการตรวจสอบระหว่างกันด้านบัญชี การจัดเก็บข้อมูล รวมถึงกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

8.1.3 บริษัทกำหนดขั้นตอนการรายงานผลการตรวจสอบ และการรายงานประเด็นเร่งด่วน ดังนี้

  1. บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน จะต้องรายงานผลการตรวจสอบ และประเด็นที่พบทุกครั้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และแจ้งคู่ขนานต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  2. หลังจากการรายงานผลการตรวจสอบ บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในจะหารือผลการควบคุมภายในกับผู้บริหารสายงาน เพื่อดำเนินการหาแนวทางควบคุมภายในที่เหมาะสม
  3. หากพบว่ามีประเด็นเร่งด่วน บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน จะแจ้งตรงไปยังประธานกรรมการตรวจสอบทันที
  4. คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้ทำหน้าที่รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

9. การจัดเก็บข้อมูล

9.1 บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) มีนโยบายที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน หลักการ รวมทั้งกฎหมายที่บังคับใช้เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลทางบัญชี และการเงิน

9.2 ค่าใช้จ่ายทุกประเภทต้องมีเอกสารประกอบ มีการอนุมัติตามอำนาจอนุมัติ รวมทั้งการจัดเก็บ และรักษาข้อมูลของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

9.3 บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ไม่อนุญาตให้มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นเท็จ ผิดหลักการ ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือทำการตกแต่งบัญชี รวมทั้งจะต้องไม่มีบัญชีนอกงบการเงินเพื่อใช้สนับสนุน หรือปกปิดการจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสม

10. การบริหารทรัพยากรบุคคล

10.1 นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ให้ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหา หรือการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตำแหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน
และลูกจ้าง และการให้ผลตอบแทน โดยกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงานและลูกจ้างที่อยู่ในความรับผิดชอบ และต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

10.1.1 ด้านการจ้างงาน บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ได้กำหนดประเภท และคุณสมบัติของพนักงาน
และลูกจ้างในการรับเข้าทำงาน โดยผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ที่บริษัท และ
บริษัทย่อย (ถ้ามี) กำหนดจะต้องไม่เคยมีประวัติการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ แสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ ทั้งนี้โดยมีขั้นตอนในการพิจารณาบุคคลเข้าทำงาน ดังนี้

  1. ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครพร้อมแนบหลักฐานตามที่บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) กำหนดที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  2. ฝ่ายทรัพยากรบุคคลพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น และร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานที่ต้องการรับพนักงาน และลูกจ้างเข้าทำงานทดสอบความรู้ ความสามารถตามที่เห็นสมควร
  3. เมื่อบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ได้ทำสัญญาจ้างบุคคลให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่ใด ถือว่าผู้นั้นเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) ได้รับค่าจ้างตามที่กำหนดในสัญญาจ้าง โดยการกำหนดอัตราค่าจ้างเป็นไปตามความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และสภาพการแข่งขันในตลาดแรงงาน

10.1.2 การประเมินผลการปฏิบัติงาน บริษัทจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็น 2 (สอง) ระยะ ดังนี้

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงทดลองงาน โดยพนักงาน และลูกจ้างเริ่มงานใหม่จะต้องปฏิบัติในช่วงทดลองงานไม่เกิน 120 (หนึ่งร้อยยี่สิบ) วัน นับตั้งแต่วันเริ่มงาน
  2. การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันถึงเป้าหมายใน
    การทำงาน และการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และลูกจ้างในรอบปี
    ที่ผ่านมา รวมถึงการประเมินพฤติกรรมในการทำงาน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้ โดยการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ๆ

10.1.3 คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ตรวจสอบความเหมาะสม และความเพียงพอของบุคลากรในการดำเนินงานเพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

11. การอบรม การสื่อสาร และการเผยแพร่

11.1 การอบรม และการสื่อสาร

11.1.1 คณะกรรมการบริษัท

บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ให้แก่กรรมการทุกท่านรับทราบ รวมทั้งจะมีการปฐมนิเทศกรรมการเข้าใหม่เกี่ยวกับเรื่อง นโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

11.1.2 พนักงานและลูกจ้าง

  1. พนักงานใหม่ และ ลูกจ้างใหม่

พนักงานใหม่ และลูกจ้างใหม่ทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายดังกล่าวในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ และลูกจ้างใหม่

  1. พนักงานปัจจุบัน และ ลูกจ้างปัจจุบัน
  • พนักงาน และลูกจ้างทุกคนจะได้รับสำเนานโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าได้รับทราบ และเข้าใจถึงนโยบายของบริษัท และบริษัทย่อย(ถ้ามี) ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษานโยบาย รวมทั้งข้อมูลล่าสุดที่ปรับปรุงแก้ไขได้จากเว็ปไซต์ของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) โดยบริษัทจะแจ้งให้พนักงาน และลูกจ้างทราบหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญ
  • พนักงาน และลูกจ้างทุกคนจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักถึงการทุจริต เช่น รูปแบบต่าง ๆ ของการทุจริต
    ความเสี่ยงจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทุจริต ตลอดจนวิธีการรายงานกรณีพบเห็นหรือสงสัยว่ามีการทุจริต เป็นต้น
  1. ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการ และผู้รับเหมา

บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) จะสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ให้แก่ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการ และผู้รับเหมาทราบ ตั้งแต่เริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และในภายหลังตามความเหมาะสม ทั้งนี้ บริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี) สนับสนุนให้ตัวแทน ตัวกลางทางธุรกิจ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า/ให้บริการ และผู้รับเหมายึดมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

11.2 การเผยแพร่

เพื่อให้ทุกคนในองค์กรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นบริษัทจะดําเนินการดังต่อไปนี้

11.2.1 บริษัทจะติดประกาศนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นให้พนักงานรับทราบโดยทั่วกัน

11.2.2 บริษัทจะเผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่นผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัทเช่นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์บริษัทรายงานประจําปีเป็นต้น

11.2.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอเป็นประจําทุกปี

12. การแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน

คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีมาตรการในการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือการมีพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคลในองค์กร รวมทั้งของพนักงาน ลูกจ้าง และผู้มีส่วนได้เสียอื่น การกระทำดังกล่าวรวมถึง รายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่อง และบริษัทต้องมีกลไกในการคุ้มครองผู้ที่แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

12.1 เรื่องที่รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

12.1.1 การกระทําที่ทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยทางตรง หรือทางอ้อม

12.1.2 การกระทําที่ผิดขั้นตอนตามระเบียบปฏิบัติของบริษัทหรือมีผลต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัทจนทําให้สงสัยได้ว่าอาจจะเป็นช่องทางในการทุจริต

12.1.3 การกระทําที่ทําให้บริษัท เสียผลประโยชน์กระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท

12.1.4 การกระทําที่ผิดกฎหมายผิดศีลธรรมจรรยาบรรณทางธุรกิจ

12.2 ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน

คณะกรรมการบริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ยื่นคำร้องเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบ หรือบุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน และจะคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนประเด็นต่าง โดยมีช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ หรือบุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อดำเนินการตามกระบวนการที่บริษัทกำหนด และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป ทั้งนี้ช่องทางติดต่อมีดังนี้

12.2.1 แจ้งฝ่ายทรัพยากรบุคคล (ช่องทางนี้สงวนเฉพาะพนักงานและลูกจ้างของบริษัท และบริษัทย่อย (ถ้ามี))

12.2.2 ทางจดหมาย ถึง คณะกรรมการตรวจสอบ ผ่านตู้รับความคิดเห็น ข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะภายในบริษัท

12.2.3 ทางอีเมล์ ถึง คณะกรรมการตรวจสอบ  ผ่านอีเมล์ [email protected]

12.2.4 ทาง URL ผ่าน www.movefast.me

12.2.5 ในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องเรียนเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อของตนเอง ผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริง หรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำทุจริตหรือเบียดบังผลประโยชน์ หรือเป็นการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) หรือผิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี)

การคุ้มครองผู้ร้องเรียน และผู้เกี่ยวข้องเนื่องจากการร้องเรียน และการให้ข้อมูลที่กระทําไปโดยสุจริตใจย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ทั้งบริษัท และพนักงานเป็นส่วนรวม ดังนั้น ผู้ยื่นคําร้องเรียน
ผู้ให้ถ้อยคํา ให้ข้อมูล ให้ข้อเท็จจริง หรือให้พยานหลักฐานใดเกี่ยวกับการร้องเรียน และที่เป็นผู้พิจารณาคําร้องเรียน เมื่อได้กระทําไปโดยสุจริตใจย่อมได้รับการคุ้มครองจากบริษัท

บริษัทมีนโยบายที่จะให้ความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเท่าเทียมกันตามกฏข้อบังคับของบริษัทโดยจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องเรียนและเรื่องที่ร้องเรียนนั้นเป็นความลับและจะดําเนินการเพื่อคุ้มครองผู้ร้องเรียน

13. การดําเนินการสืบสวน และบทลงโทษ

13.1 เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้กลั่นกรองสืบสวนข้อเท็จจริง

13.2 ระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบอาจจะมอบหมายให้ตัวแทน (ผู้บริหาร หรือเลขานุการบริษัท) แจ้งผลความคืบหน้าเป็นระยะให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ทราบ

13.3 หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่าข้อมูล หรือหลักฐานที่มี มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทําการคอร์รัปชั่น หรือทุจริตจริง บริษัท จะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหา และให้สิทธิ
ผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูล หรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอันทุจริตตามที่ได้ถูกกล่าวหา

13.4 หากผู้ถูกร้องเรียนได้กระทําการทุจริตจริง การทุจริตนั้นถือว่าเป็นการกระทําผิดนโยบายต่อต้าน
การคอร์รัปชั่นจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัท กําหนดไว้ และหากการกระทําทุจริตนั้นผิดกฎหมาย ผู้กระทําความผิดอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้โทษทางวินัยตามระเบียบของบริษัท คําตัดสินของคณะกรรมการบริหารถือเป็นอันสิ้นสุด

14. กรณีมีข้อสงสัย

14.1 หากกรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือบริษัทย่อย (ถ้ามี) เกิดความไม่มั่นใจว่าการกระทำใด อาจเข้าลักษณะเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือในกรณีที่มีคำถามหรือข้อสงสัย ให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงาน ลูกจ้าง ปรึกษา ฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะกรรมการตรวจสอบ บุคคลภายนอกซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายใน หรือเลขานุการบริษัทโดยตรง